เมนู

ว่าด้วยสาวัชชกรรม อนวัชชกรรม


[628] คำว่า ละกรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชช-
กรรม
ความว่า กรรมคำมีผลดำ เรียกว่า สาวัชชกรรม กรรมขาวมี
ผลขาว เรียกว่า อนวัชชกรรม ละ เว้น บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีซึ่งสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละ
กรรมนั้นอันเป็นสาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม.
[629] คำว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและความไม่หมดจด
ความว่า พวกปุถุชนย่อมปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศล-
ธรรม ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาเบญจกามคุณ ย่อม
ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรมและเบญจกามคุณ
ย่อมปรารถนาความหมดจด คือปรารถนาทิฏฐิ 62 ย่อมปรารถนาความ
ไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณและทิฏฐิ 62 ย่อม
ปรารถนาความหมดจด คือปรารถนากุศลธรรมอันทีในไตรธาตุ ย่อม
ปรารถนาความไม่หมดจด คือปรารถนาอกุศลธรรม เบญจกามคุณ ทิฏฐิ
62 และกุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ พวกกัลยาณปุถุชนย่อมปรารถนา
ความหมดจด คือปรารถนาความย่างเข้าสู่อริยมรรค พระเสขะย่อม
ปรารถนาอรหัตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้วพระ-
อรหันต์ย่อมไม่ปรารถนาอกุศลธรรม ไม่ปรารถนาเบญจกามคุณ ไม่
ปรารถนาทิฏฐิ 62 ไม่ปรารถนากุศลธรรมอันมีในไตรธาตุ ไม่ปรารถนา
ความย่างเข้าสู่อริยมรรค ไม่ปรารถนาอรหัตผลซึ่งเป็นธรรมอันเลิศ พระ-
อรหันต์ก้าวล่วงความปรารถนาแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อม
เสียแล้ว ท่านอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ มิได้

มีภพใหม่ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ปรารถนาความหมดจดและ
ความไม่หมดจด.
[630] คำว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ในคำว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึด-
ถือทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป
ความว่า ละเว้น งดเว้น ออก สละ
พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความหมดจดและความไม่หมดจด เป็นผู้มีจิต
ทำให้ปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เว้นแล้ว. คำว่า
พึงประพฤติไป ความว่า พึงประพฤติ พึงเที่ยวไป ผลัดเปลี่ยน ดำเนิน
ไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เว้นแล้ว ...
พึงประพฤติไป. คำว่า ไม่ยึดถือทิฏฐิที่มีอยู่ คือทิฏฐิ 62 เรียกว่าทิฏฐิ
ที่มีอยู่ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทิฏฐิที่มีอยู่ พึงประพฤติไป เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
อริยสาวกละศีลและพรตทั้งปวง ละกรรมนั้นอันเป็น
สาวัชชกรรมและอนวัชชกรรม ไม่ปรารถนาความหมดจด
และความไม่หมดจด เป็นผู้เว้นแล้ว ไม่ยึดถือทิฏฐิที่มีอยู่
พึงประพฤติไป.

[631] พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่เกลียดชังนั้น อาศัย
รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ผู้กล่าวความ
หมดจดในสงสารข้างหน้า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพ
น้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.

[632] คำว่า พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่เกลียดชังนั่น
ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวก มีวาทะเกลียดชังตบะ มีความเกลียด

ชังตบะเป็นสาระ อิง อาศัย พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจไปสู่ตบะ
ที่เกลียดชัง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์อาศัยตบะที่
เกลียดชังนั้น ๆ.
[633] คำว่า อาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่
ทราบ
ความว่า อาศัย เข้าไปอาศัย ถือยึดมั่น ถือมั่นรูปที่เห็น หรือ
ความหมดจดเพราะรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินหรือความหมดจดเพราะเสียงที่
ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบหรือความหมดจดเพราะอารมณ์ที่ทราบ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ.
[634] คำว่า ผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า...ย่อม
พร่ำพูดถึงความหมดจด
ความว่า มีสมณพราหมณ์บางพวกผู้กล่าวความ
หมดจดในสงสารข้างหน้า สมณพราหมณ์พวกไหนผู้กล่าวความหมดจดใน
สงสารข้างหน้า คือพวกสมณพราหมณ์ผู้ถือความหมดจดโดยส่วนเดียว
ถือความหมดจดโดยสงสาร ผู้เป็นกิริยทิฏฐิ ผู้เป็นสัสสตวาทะ สมณ-
พราหมณ์พวกนี้ ชื่อว่าผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้างหน้า สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น พร่ำถึง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงความหมดจด
ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น
รอบโดยสงสาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้กล่าวความหมดจดในสงสารข้าง
หน้า...ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.
[635] ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพ
น้อยภพใหญ่
คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ-
ฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ความว่า ในภพ

น้อยและภพใหญ่ คือในกรรมวัฏ และวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่อง
เกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็น
เครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความ
เกิดบ่อย ๆ ในความไปบ่อย ๆ ในความเข้าถึงบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบ่อย ๆ
ในความบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพบ่อย ๆ.
คำว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา ความว่า ยังไม่ปราศจากตัณหา
ยังไม่หมดตัณหา ยังไม่สละตัณหา ยังไม่สำรอกตัณหา ยังไม่ปล่อยตัณหา
ยังไม่ละตัณหา ยังไม่สละคืนตัณหา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยังไม่ปราศจาก
ตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ตอบว่า
พวกสมณพราหมณ์ อาศัยตบะที่เกลียดชังนั้น อาศัย
รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรืออารมณ์ที่ทราบ ผู้กล่าว
ความหมดจดในสงสารข้างหน้า ยังไม่ปราศจากตัณหา
ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมพร่ำพูดถึงความหมดจด.

[636] วัตถุทั้งหลายเป็นของอันผู้ปรารถนาชอบใจ อนึ่ง
ความหวั่นไหว ย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนด
แล้ว ความเคลื่อนและความเข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดใน
ธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจ
ในที่ไหน (ไม่หวั่นไหว ไม่ชื่ออะไร ๆ).

[637] คำว่า วัตถุทั้งหลาย เป็นของอันบุคคลผู้ปรารถนา
ชอบใจ
ความว่า เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ปรารถนา ความว่า ปรารถนา อยาก-
ได้ ยินดี รักใคร่ ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนา. คำว่า
ชอบใจ ความว่า ตัณหา เรียกว่าความชอบใจ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นของอันบุคคลผู้
ปรารถนาชอบใจ.
[638] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า ความหวั่นไหว ย่อมมี
ในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดแล้ว
ได้แก่ความกำหนด 2 อย่าง คือ
ความกำหนดด้วยตัณหา 1 ความกำหนดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความ
กำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ แม้บุคคลผู้มีความ
หวาดระแวงในการแย่งชิงวัตถุ ย่อมหวั่นไหว คือแม้เมื่อวัตถุกำลังถูก
แย่งชิงเอาไป ก็ย่อมหวั่นไหว แต่เมื่อวัตถุถูกแย่งชิงเอาไปแล้ว ก็ย่อม
หวั่นไหว แม้บุคคลผู้มีความหวาดระแวงในความแปรปรวนไปแห่งวัตถุ
ย่อมหวั่นไหว คือแม้เมื่อวัตถุกำลังแปรปรวนไปก็ย่อมหวั่นไหว แม้เมื่อ
วัตถุแปรปรวนไปแล้ว ก็ย่อมหวั่นไหว สะทกสะท้าน เอนเอียง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนดแล้ว.
[639] คำว่า แก่ภิกษุใด ในคำว่า ความเคลื่อนและความ
เข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้
ความว่า ความมา ความไป
ความไปและความมา ความตาย คติ ภพน้อยและภพใหญ่ ความเคลื่อน
ความเข้าถึง ความเกิด ความแตก ชาติ ชราและมรณะ มิได้มี คือ
ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ แก่พระอรหันตขีณาสพ คือความ

เคลื่อนและความเข้าถึงนั้น อันพระอรหันตขีณาสพตัดขาด สงบ ระงับ
แล้ว ทำไม่ควรให้เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ความเคลื่อนและความเข้าถึงมิได้มีแก่ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้.
[640] คำว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจ
ในที่ไหน
ความว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยราคะ โทสะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรว่า เป็นผู้กำหนัดบ้าง ประทุษร้าย
บ้าง หลงใหลบ้าง มีมานะเป็นเครื่องผูกพันบ้าง ยึดถือบ้าง ถึงความ
ฟุ้งซ่านบ้าง ถึงความไม่แน่ใจบ้าง ถึงโดยเรี่ยวแรงบ้าง และภิกษุนั้นละ
อภิสังขารเหล่านั้นเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารแล้ว พึงหวั่นไหว
โดยคติด้วยเหตุอะไรว่า เป็นผู้ไปเกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา
เป็นสัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัญญีสัตว์ เป็นอสัญญีสัตว์ ภิกษุนั้น
ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเหตุให้หวั่นไหวสะทกสะท้าน
เอนเอียง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร.
คำว่า พึงชอบใจในที่ไหน ความว่า พึงชอบใจ รักใคร่ พอใจในที่ไหน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึงชอบใจใน
ที่ไหน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
วัตถุทั้งหลาย เป็นของอันบุคคลผู้ปรารถนาชอบใจ
อนึ่ง ความหวั่นไหวย่อมมีในเพราะวัตถุทั้งหลายที่กำหนด
แล้ว ความเคลื่อนและความเข้าถึง มิได้มีแก่ภิกษุใดใน
ธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นพึงหวั่นไหวด้วยเหตุอะไร พึง
ชอบใจในที่ไหน.

[641] สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม
แต่สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า
เลว วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริง
เล่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตน
ว่าเป็นผู้ฉลาด.

[642] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็น
เยี่ยม
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง แถลง
ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด อย่างนี้ว่า ธรรมนี้เป็นเยี่ยม เลิศ
ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม.
[643] คำว่า แต่สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นนั่น-
แหละว่าเลว
ความว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง
แถลงซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นแหละ อย่างนี้ว่า ธรรมนี้
เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่
สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า เลว.
[644] คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะ
จริงเล่า
ความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้
แน่ เป็นจริง เป็นยามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะของ
สมณพรหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงเล่า.
[645] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้าง
ตนว่าเป็นผู้ฉลาด
ความว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งปวงต่างก็อ้าง
ตนว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้างตนเป็นผู้มี

ญาณ อ้างตนว่ากล่าวโดยเหตุ อ้างตนว่ากล่าวโดยลักษณะ อ้างตนว่ากล่าว
โดยการณะ อ้างตนว่ากล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า.
สมณพราหมณ์บางพวกกล่าวธรรมใดว่า เป็นเยี่ยม
แต่สมณพราหมณ์พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นนั่นแหละว่า
เลว วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจะจริงเล่า
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็น
ผู้ฉลาด.

[646] ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า
บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว พวกสมณ-
พราหมณ์ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน พวก
สมณพราหมณ์กล่าวทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง.

[647] คำว่า ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า
บริบูรณ์
ความว่า ก็สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง
แถลง ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ของตน อย่างนี้ว่า ธรรมนี้
บริบูรณ์ เต็มรอบไม่บกพร่อง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็สมณพราหมณ์
บางพวก กล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์.
[648] คำว่า แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว ความว่า สมณ-
พราหมณ์อีกพวกหนึ่งกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ-
ปฏิปทา มรรค ของสมณพราหมณ์อื่น อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ เลว ทราม

ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แต่กล่าวธรรม
ของสมณพราหมณ์อื่นว่าเลว.
[649] คำว่า ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน ความว่า
ถือ ยึดถือ ถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิอย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน คือย่อม
ทำความทะเลาะกัน ทำความหมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความ
วิวาทกัน ทำความทุ่มเถียงกันว่า ท่านไม่รู้ธรรมวินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้
ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าทานสามารถ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถือทิฏฐิ
แม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน.
[650] คำว่า กล่าวทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง ความว่า กล่าวว่า
โลกเที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่
เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
กล่าวทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ตอบว่า
ก็สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวธรรมของตนว่า
บริบูรณ์ แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว พวกสมณ-
พราหมณ์ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว ย่อมวิวาทกัน พวก
สมณพราหมณ์กล่าวทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง.

[651] หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ
ไซร้ ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะ
ว่า ปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว

ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของ
ตน.

[652] คำว่า หากว่าบุคคลพึงเป็นคนเลวเพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ
ไซร้
ความว่า หากว่าบุคคลอื่นย่อมเป็นคนโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก
สกปรก ต่ำต้อย เพราะเหตุถ้อยคำที่ผู้อื่นตำหนิติเตียนค่อนว่าไซร้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิไซร้.
[653] คำว่า ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย
ความว่า ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน อุดม
บวรในธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษ
ในธรรมทั้งหลาย.
[654] คำว่า เพราะว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความ
เป็นธรรมเลว
ความว่า ปุถุชนแม้มากย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา
ติเตียนธรรมของปุถุชนมาก ย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนคำของ
ปุถุชนคนเดียว โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก
ต่ำต้อย ปุถุชนแม้คนเดียวย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนธรรม
ของปุถุชนมากคน โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก
ต่ำต้อย ปุถุชนแม้คนเดียวย่อมกล่าว ค่อนขอด นินทา ติเตียนธรรม
ของปุถุชนคนเดียว โดยความเป็นธรรมเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก
ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่น
โดยความเป็นธรรมเลว.
[655] ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง
ดำเนินของตน ๆ ในคำว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็น

ทางดำเนินของตน ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยัน กล่าวมั่นคง กล่าว
แข็งแรง กล่าวเที่ยงแท้ในธรรมเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของตน
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
หากว่าบุคคลย่อมเป็นคนเลว เพราะคำที่ผู้อื่นตำหนิ
ไซร้ ใคร ๆ ก็ไม่พึงเป็นผู้วิเศษในธรรมทั้งหลาย เพราะ
ว่าปุถุชนย่อมกล่าวธรรมของผู้อื่นโดยความเป็นธรรมเลว
ชนทั้งหลายเป็นผู้กล่าวยืนยันในธรรมเป็นทางดำเนินของ
คน.

[656] ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวก
สมณพราหมณ์เป็นของจริง เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์
สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน วาทะทั้งปวงก็พึง
เป็นของจริง เพราะความหมดจดของพวกพราหมณ์
เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น.

[657] การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ในคำว่า ก็การ
บูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวกสมณพราหมณ์ เป็นของ
จริง
เป็นไฉน พวกสมณพราหมณ์ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ศาสดาของตนว่า ศาสดานี้เป็นสัพพัญญู นี้ชื่อว่าการบูชาธรรมเป็นทาง
ดำเนินของตน พวกสมณพราหมณ์ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
ธรรมที่ศาสดาของตนบอก หมู่คณะของตน ทิฏฐิของตน ปฏิปทาของ
ตน มรรคของตนว่า มรรคนี้เป็นทางให้พ้นทุกข์ นี้ชื่อว่าการบูชาธรรม

เป็นทางดำเนินของตน. คำว่า การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน
เป็นของจริง
ความว่า การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน เป็นของ
จริง แท้ แน่นอน เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวกสมณพราหมณ์
เป็นของจริง.
[658] ธรรมะ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค ชื่อว่าธรรมเป็นทาง
ดำเนินของตน ในคำว่า เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์สรรเสริญธรรม
เป็นทางดำเนินของตน
พวกสมณพราหมณ์ย่อมสรรเสริญ ชม ยกย่อง
พรรณนาธรรมเป็นทางดำเนินของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนดัง
พวกสมณพราหมณ์สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน.
[659] คำว่า วาทะทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง ความว่า วาทะ
ทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง แท้ แน่นอน เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่
วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะทั้งปวงก็พึงเป็นของจริง.
[660] คำว่า เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์
เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น
ความว่า ความหมดจด ความ
หมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้น
รอบ ของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น
ของเฉพาะตัวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ก็การบูชาธรรมเป็นทางดำเนินของตน ของพวก
สมณพราหมณ์เป็นของจริง เหมือนดังพวกสมณพราหมณ์
สรรเสริญธรรมเป็นทางดำเนินของตน วาทะทั้งปวงก็พึง

เป็นของจริง เพราะความหมดจดของพวกสมณพราหมณ์
เหล่านั้น เป็นของเฉพาะตัวเท่านั้น.

[661] ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์
(พระอรหันต์) ความตัดสินใจแล้วจึงถือมั่นในธรรม
ทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์
จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่งความวิวาททั้งหลาย เพราะ
พราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่น โดยความเป็นธรรม
ประเสริฐ.

[662] ศัพท์ว่า ในคำว่า ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำย่อม
ไม่มีแก่พราหมณ์
เป็นปฏิเสธ. ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ คือบุคคลชื่อว่า
เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม 7 ประการ ฯลฯ1 อัน
ตัณหาทิฏฐิไม่อาศัย ผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า ญาณอัน
บุคคลอื่นพึงแนะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์
ความว่า ความเป็นผู้มีญาณ
อันบุคคลอื่นพึงแน่ะนำย่อมไม่มีแก่พราหมณ์ คือพราหมณ์เป็นผู้มีญาณ
อันผู้อื่นไม่ต้องแน่ะนำ ไม่ต้องอาศัยผู้อื่น ไม่เชื่อผู้อื่น ไม่ดำเนินเนื่อง
ด้วยผู้อื่น เป็นผู้ไม่หลงใหล มีความรู้สึก มีความระลึกได้ ย่อมรู้ ย่อม
เห็นว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็น
อนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความ
ดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ
ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์.

1. ดูข้อ 355.

[663] คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า ความตัดสินใจแล้ว
จึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์
ความว่า ในทิฏฐิ 62
ประการ. คำว่า ตัดสินใจแล้ว คือตัดสินใจแล้ว ชี้ขาด ค้นหา แสวงหา
เทียบเคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น
ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ ถือ ความถือ ความยึดถือ ความ
ยึดมั่น ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แน่ แท้ เป็นตาม
สภาพ เป็นตามจริง ไม่วิปริตดังนี้ ย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้
คือเป็นธรรมอันพราหมณ์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ แล้ว ทำให้ไม่ควร
เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความตัดสินใจ
แล้วจึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่พราหมณ์.
[664] คำว่า เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่ง
ความวิวาททั้งหลาย
ความว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะการณะ เหตุ ปัจจัย
นิทานนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วง ก้าวล่วง ก้าวล่วงพร้อม เป็นไปล่วง
ซึ่งความทะเลาะ ด้วยทิฏฐิ ความหมายมั่นด้วยทิฏฐิ ความแก่งแย่งด้วย
ทิฏฐิ ความวิวาทด้วยทิฏฐิ ความทุ่มเถียงด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้วซึ่งความวิวาททั้งหลาย.
[665] คำว่า เพราะพราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรมอื่นโดยความ
เป็นธรรมประเสริฐ
ความว่า พราหมณ์ย่อมไม่เห็น ไม่พบ ไม่แลเห็น
ไม่พินิจ ไม่พิจารณาเห็นซึ่งธรรม คือศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ
ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค อื่น นอกจากสติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ 8 ว่าเป็นธรรมประเสริฐ วิเศษ
เป็นประธาน อุดม บวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะพราหมณ์ย่อมไม่

เห็นธรรมอื่นโดยความเป็นธรรมประเสริฐ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ญาณอันบุคคลอื่นพึงแนะนำ ย่อมไม่มีแก่พราหมณ์
ความตัดสินใจแล้วจึงถือมั่นในธรรมทั้งหลาย ก็ไม่มีแก่
พราหมณ์ เพราะเหตุนั้น พราหมณ์จึงเป็นผู้ล่วงเสียแล้ว
ซึ่งความวิวาททั้งหลาย เพราะพราหมณ์ย่อมไม่เห็นธรรม
อื่น โดยความเป็นธรรมประเสริฐ.

[666] สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมเชื่อความหมดจดด้วย
ทิฏฐิว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความหมดจดนั้นจริงแท้
หากว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์
ผู้เห็นนั้นจะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า พวก
สมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วย
ทัศนะอื่น.

[667] คำว่า ย่อมรู้ ในคำว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความหมด
จดนั้นแท้จริง
ความว่า เราย่อมรู้ด้วยญาณเครื่องรู้จิตของผู้อื่น หรือย่อม
รู้ด้วยญาณเครื่องรู้ระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน คำว่า ย่อมเห็น
ความว่า เราย่อมเห็นด้วยมังสจักษุหรือย่อมเห็นด้วยทิพยจักษุ. คำว่า ซึ่ง
ความหมดจดนั้นจริงแท้
ความว่า ซึ่งความหมดจดนั้นแน่แท้ เป็นจริง
เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นซึ่งความ
หมดจดนั้นจริงแท้.

[668] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจดด้วย
ทิฏฐิ
ความว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจด ความหมด-
จดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ
ด้วยทิฏฐิ คือสมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความหมดจด ความหมดจด
วิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ ด้วย
ทิฏฐิว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่
ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่ง
อื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวกย่อมเชื่อความ
หมดจดด้วยทิฏฐิ.
[669] คำว่า ได้เห็นแล้ว ในคำว่า หากว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่ง
ได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้เห็นนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็น
นั้นเล่า
ความว่า ได้เห็นแล้วด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น ได้รู้แล้วด้วยญาณ
เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน ได้เห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือ
ได้เห็นแล้วด้วยทิพยจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หากว่าสมณพราหมณ์ผู้
หนึ่งได้เห็นแล้ว. คำว่า สมณพราหมณ์ผู้เห็นนั้น จะมีประโยชน์อะไร
ด้วยการเห็นนั้นเล่า
ความว่า สมณพราหมณ์นั้นจะมีประโยชน์อะไรด้วย
การเห็นนั้น คือความกำหนดรู้ทุกข์จะมีได้อย่างไร ความละสมุทัยก็ไม่มี
ความเจริญมรรคก็ไม่มี ความทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาด
ซึ่งราคะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาดซึ่งโทสะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาด
ซึ่งโมหะก็ไม่มี ความละด้วยตัดขาดซึ่งกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี ความตัดขาด
ซึ่งสังสารวัฏก็ไม่มี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หากสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้
เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้นั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า.

[670] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อนกล่าวความ
หมดจดด้วยทัศนะอื่น
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นล่วงเลย ก้าวล่วง
เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งทางแห่งความหมดจด ทางแห่งความหมดจดวิเศษ
ทางแห่งความหมดจดรอบ ทางขาว ทางขาวรอบ ย่อมกล่าว บอก พูด
แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ
ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความพ้นรอบ อื่นจากสติปัฏฐาน อื่นจาก
สัมมัปปธาน อื่นจากอิทธิบาท อื่นจากอินทรีย์ อื่นจากพละ อื่นจาก
โพชฌงค์ อื่นจากอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยทิฏฐิ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้
จึงชื่อว่าพวกสมณพราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยทัศนะ
อื่น อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระพุทธสาวกทั้งหลายก็ดี
พระปัจเจกพุทธะทั้งหลายก็ดี ล่วงเลย ก้าวล่วง เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งทาง
แห่งความไม่หมดจด ทางแห่งความไม่หมดจดวิเศษ ทางแห่งความไม่
หมดจดรอบ ทางแห่งความไม่ขาว ทางไม่ขาวรอบ โดยทิฏฐิแห่งสมณ-
พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งความหมดจด
ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ
พ้นรอบ ด้วยสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5
พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึง
ชื่อว่าพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความ
หมดจดด้วยธรรมอื่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
สมณพราหมณ์บางพวก ย่อมเชื่อความหมดจดด้วย
ทิฏฐิว่า เราย่อมรู้ย่อมเห็นความหมดจดนั้นจริงแท้ หาก
ว่าสมณพราหมณ์ผู้หนึ่งได้เห็นแล้ว สมณพราหมณ์ผู้เห็น

นั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยการเห็นนั้นเล่า พวกสมณ-
พราหมณ์ล่วงเสียแล้ว ย่อมกล่าวความหมดจดด้วยทัศนะ
อื่น.

[671] นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนามรูป หรือเห็นแล้วก็จักรู้นาม-
รูปเหล่านั้นเท่านั้น นรชนเห็นนานรูปมากบ้าง น้อยบ้าง
โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความ
หมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย.

[672] คำว่า นรชนเมื่อเห็น ในคำว่า นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนาม-
รูป
ความว่า นรชนเมื่อเห็นด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น เมื่อเห็นด้วยญาณ
เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน เมื่อเห็นด้วยมังสจักษุ หรือเมื่อ
เห็นด้วยทิพยจักษุ ก็เห็นนามรูปเท่านั้นโดยเป็นของเที่ยง โดยความเป็นสุข
โดยความเป็นอัตตา มิได้เห็นความเกิด ความดับ คุณ โทษ หรืออุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนเมื่อเห็น
นามรูป.
[673] คำว่า หรือเห็นแล้วก็รู้จักนามรูปเหล่านั้นเท่านั้น ความว่า
ครั้นเห็นแล้วด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น เห็นแล้วด้วยเครื่องระลึกถึงขันธ์
ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน เห็นแล้วด้วยมังสจักษุ หรือเห็นแล้วด้วยทิพยจักษุ
ก็เห็นเพียงนามรูปเท่านั้น แล้วจักรู้โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็น
สุข โดยความเป็นอัตตา จักไม่รู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบาย
เครื่องสลัดออกแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือเห็นแล้ว
ก็จักรู้นามรูปเหล่านั้นเท่านั้น.

[674] คำว่า เห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง โดยแท้ ความว่า
เมื่อเห็นนามรูปมากบ้าง น้อยบ้าง ก็เห็นโดยความเป็นของเที่ยง โดยความ
เป็นสุข โดยความเป็นอัตตา โดยแท้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นนามรูป
มากบ้าง น้อยบ้าง โดยแท้.
[675] คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาด
ทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความหมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้น
ความว่า
พวกผู้ฉลาดในขันธ์ ผู้ฉลาดในธาตุ ผู้ฉลาดในอายตนะ ผู้ฉลาดใน
ปฏิจจสมุปบาท ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน ผู้ฉลาด
ในอิทธิบาท ผู้ฉลาดในอินทรีย์ ผู้ฉลาดในพละ ผู้ฉลาดในโพชฌงค์
ผู้ฉลาดในมรรค ผู้ฉลาดในผล ผู้ฉลาดในนิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น
ย่อมไม่กล่าว ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลง ซึ่งความหมดจด
ความหมดจดวิเศษ ความหมดจดรอบ ความพ้น ความพ้นวิเศษ ความ
พ้นรอบ เพียงความเห็นนามรูป ด้วยญาณเครื่องรู้จิตผู้อื่น ด้วยญาณ
เครื่องระลึกถึงขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อน ด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพย-
จักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าว
ความหมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
นรชนเมื่อเห็นก็เห็นนามรูป หรือเห็นแล้วก็จักรู้นาม-
รูปเหล่านั้นเท่านั้น นรชนเห็นนานรูปมากบ้าง น้อยบ้าง
โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมไม่กล่าวความ
หมดจดเพียงความเห็นนามรูปนั้นเลย.

[675] ก็นรชนผู้กล่าวด้วยถือมั่น เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึง
แนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิกำหนดไว้ในเบื้องหน้า
อาศัยวัตถุใด ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิ นรชน
ผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น.

[677] คำว่า ก็นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใคร ๆ
ไม่พึงแนะนำให้ดีได้
ความว่า นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่นว่า โลกเที่ยง
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ผู้กล่าวด้วยความถือมั่นว่า โลกไม่เที่ยง ฯลฯ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่ง
นี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า. คำว่า เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึงแนะนำให้ดีได้
ความว่า นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใคร ๆ ยากที่จะแนะนำ
ได้ ยากที่จะให้รู้ได้ ยากที่จะให้เข้าใจได้ ยากที่จะให้เห็นได้ ยากที่จะ
ให้เลื่อมใสได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น
เป็นผู้อันใคร ๆไม่พึงแนะนำให้ดีได้.
[678] คำว่า เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้า ความว่า
เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนด ปรุงแต่ง ตั้งอยู่ดีแล้ว ไว้ในเบื้องหน้า คือทำ
ทิฏฐิออกหน้าเที่ยวไป มีทิฏฐิเป็นธงชัย มีทิฏฐิเป็นธงยอด มีทิฏฐิเป็น
ใหญ่ ถูกทิฏฐิห้อมล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่
กำหนดไว้ในเบื้องหน้า.
[679] คำว่า อาศัยวัตถุใด ในคำว่า อาศัยวัตถุใด ก็กล่าว
วัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐินั้น ความว่า อาศัย อิงอาศัย พัวพัน เข้าถึง
ติดใจ น้อมใจ ถึงแล้ว ซึ่งวัตถุ คือศาสดา ธรรมที่ศาสดาบอก หมู่คณะ

ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยวัตถุใด. คำว่า ใน
เพราะทิฏฐนั้น
ความว่า ในเพราะทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิ
ของตน. คำว่า ก็กล่าววัตถุนั้นว่างาม ความว่า เป็นผู้กล่าววัตถุนั้นว่างาม
กล่าวว่าดี กล่าวว่าเป็นบัณฑิต กล่าวว่าเป็นธีรชน กล่าวว่ามีญาณ กล่าว
โดยลักษณะ กล่าวโดยการณะ กล่าวโดยฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า อาศัยวัตถุใด ก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐิ.
[680] คำว่า ผู้กล่าวความหมดจด ในคำว่า ผู้กล่าวความ
หมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น
ความว่า กล่าวความหมดจด
กล่าวความหมดจดวิเศษ กล่าวความหมดจดรอบ กล่าวความขาว
กล่าวความขาวรอบ อีกอย่างหนึ่ง ผู้มีความเห็นความหมดจด มีความ
เห็นหมดจดวิเศษ มีความเห็นความหมดจดรอบ มีความเห็นความขาว
มีความเห็นความขาวรอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้กล่าวความหมดจด.
คำว่า ในทิฏฐินั้น คือในทิฏฐิ ความควร ความชอบใจ ลัทธิของตน.
คำว่า ได้เห็นว่าแท้ ความว่า ได้เห็น ได้พบ ได้ประสบ ได้แทงตลอด
ว่า แท้ แน่นอน จริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
นรชนผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
นรชนผู้กล่าวด้วยความถือมั่น เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่
พึงแนะนำให้ดีได้ เป็นผู้เชิดทิฏฐิที่กำหนดไว้ในเบื้องหน้า
อาศัยวัตถุใดก็กล่าววัตถุนั้นว่างามในเพราะทิฏฐินั้น นรชน
ผู้กล่าวความหมดจดนั้น ได้เห็นว่าแท้ในทิฏฐินั้น.

[681] พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความ
กำหนด ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือ
ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ย่อม
วางเฉยซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด ส่วนสมณ-
พราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่น.

[682] ศัพท์ว่า ในคำว่า พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้วย่อม
ไม่เข้าถึงความกำหนด เป็นศัพท์ปฏิเสธ ชื่อว่าพราหมณ์ คือบุคคลชื่อว่า
เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยเสียแล้วซึ่งธรรม 7 ประการ ฯลฯ อัน
ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย เป็นผู้คงที่ ชื่อว่าเป็นพราหมณ์. คำว่า ความ
กำหนด
ได้แก่ความกำหนด 2 อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ
ความกำหนดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ
นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. ญาณ เรียกว่าสังขาร ได้แก่ความรู้ ความ
รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. คำว่า
พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด ความว่า
พราหมณ์ทราบ พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งด้วยญาณ
ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้ว
ย่อมไม่เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความกำหนด
ด้วยตัณหา หรือความกำหนด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์
ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความกำหนด.
[683] คำว่า ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิ

เป็นเครื่องผูกเพราะญาณ ความว่า พราหมณ์นั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับ
ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ซึ่งทิฏฐิ 62 ประการ
ไม่ดำเนิน ไม่ออก ไม่เลื่อน ไม่เคลื่อนไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่ถึง ไม่กลับ
มาถึงทิฏฐินั้นโดยความเป็นสาระ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้แล่นไป
ด้วยทิฏฐิ. คำว่า ทั้งไม่มีตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ ความ
ว่า พราหมณ์ย่อมไม่ทำตัณหาเป็นเครื่องผูก หรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูก คือ
ไม่ยังตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้
บังเกิดเฉพาะ เพราะญาณในสมาบัติ 8 เพราะญาณในอภิญญา 5 หรือ
เพราะญาณที่ผิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มี
ตัณหาหรือทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ.
[688] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า พราหมณ์นั้นรู้แล้ว . . . ซึ่งสมมติ
ทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด
ความว่า รู้ ทราบ พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่ม-
แจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไป
เป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ทิฏฐิ 62ประการ
เรียกว่า สมมติ. ทิฏฐิทั้งหลายชื่อว่า ปุถุชชา เพราะทิฏฐิเหล่านั้น อัน
ปุถุชนให้เกิด หรือเพราะชนต่างๆ มากให้เกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พราหมณ์นั้นรู้แล้ว . . .ซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด.
[685] คำว่า ย่อมวางเฉย ส่วนพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น
ย่อมถือมั่น
ความว่า พวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น
ด้วยสามารถแห่งตัณหา ด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ส่วนพระอรหันต์ย่อมวาง
เฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมวางเฉย

ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือมั่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสตอบว่า
พราหมณ์ทราบด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความ
กำหนด ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยทิฏฐิ ทั้งไม่มีตัณหาหรือ
ทิฏฐิเป็นเครื่องผูกเพราะญาณ พราหมณ์นั้นรู้แล้ว ย่อม
วางเฉยซึ่งสมมติทั้งหลายที่ปุถุชนให้เกิด ส่วนพวกสมณ-
พราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น.

[686] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบอีกว่า) มุนีสละแล้วซึ่ง
กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อชนทั้งหลายเกิด
วิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยธรรมที่ทำให้เป็นพวก
มุนีนั้นเมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่
ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือมั่น.

[687] ชื่อว่า กิเลสเครื่องร้อยรัด ในคำว่า มุนีสละแล้ว
ซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้
ได้แก่ กิเลสเครื่องร้อยรัด
4 อย่าง คือกิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา พยาบาท สีลัพพัตต-
ปรามาส ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง. ความกำหนัดในทิฏฐิของตน ชื่อว่า
กิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คืออภิชฌา. ความอาฆาต ความไม่ยินดี
ในถ้อยคำของผู้อื่น ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัดทางกาย คือพยาบาท. ความ
ยึดถือศีลพรต หรือทั้งศีลและพรตของตน ชื่อว่ากิเลสเครื่องร้อยรัด
ทางกาย คือสีลัพพัตตปรามาส. ทิฏฐิของตน ชื่อว่าเครื่องร้อยรัดทาง
กาย คืออิทังสัจจาภินิเวสะ ความยึดมั่นว่าสิ่งนี้จริง. คำว่า สละแล้ว

ความว่า ปล่อยหรือวางแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง
ความว่า แก้แล้วหรือคลายแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดที่ผูก รัด พัน เหนี่ยว
รั้ง เกาะเกี่ยว พัวพัน คล้องไว้ เหมือนชนทั้งหลาย ทำความปลดปล่อย
คานหาม รถ หรือเกวียนฉะนั้น. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า
โมนะ ได้แก่ ความรู้ ความรู้ชัด ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง
และตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี. คำว่า ในโลกนี้ คือในทิฏฐินี้
ฯลฯ ในมนุษยโลกนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเป็น
เครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้.
[688] คำว่า เมื่อชนทั้งหลายเกิดวิวาทกัน ไม่เป็นผู้แล่นไปด้วย
ธรรมที่ทำให้เป็นพวก
ความว่า เมื่อชนทั้งหลายมีความวิววาทกันเกิดขึ้น
เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏ คือเมื่อชนทั้งหลายถึงฉันทาคติ
ถึงโทสาคติ ถึงโมหาคติ ถึงภยาคติ มุนีย่อมไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ
ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยสามารถราคะ โทสะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย ย่อมไม่ดำเนิน ออก เคลื่อน เคลื่อนไป
ด้วยธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นพวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อชนทั้งหลาย
เกิดวิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วยธรรมที่ทำให้เป็นพวก.
[689] คำว่า สงบ ในคำว่า มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ
ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย
ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบเงียบ ดับ
ระงับแล้ว เพราะเป็นผู้มีราคะ โทสะโมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
สงบ เงียบ เข้าไปสงบ เย็น ดับ หายไป ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เป็นผู้สงบ. คำว่า เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ คือเมื่อชนทั้งหลาย
ไม่สงบ ไม่เข้าไปสงบ ไม่เงียบ ไม่ดับ ไม่ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ. คำว่า มุนีนั้น . . . เป็นผู้วาง

เฉย ความว่า พระอรหันต์เป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ 6 คือเห็น
รูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติ มีสัมปชัญญะ
ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ บุคคลนั้นเป็นผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ฝึกดี
แล้ว รอคอยกาลมรณะอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลาย
ไม่สงบ ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย.
[690] คำว่า เป็นผู้ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่นย่อมถือ
มั่น
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ย่อมถือ ยึดมั่น ถือมั่น ด้วยสามารถ
ตัณหา ด้วยสามารถทิฏฐิ พระอรหันต์ย่อมวางเฉย ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น
ไม่ถือมั่น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น
ย่อมถือมั่น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
มุนีสละแล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายในโลกนี้
เมื่อชนทั้งหลายเกิดวิวาทกัน ย่อมไม่เป็นผู้แล่นไปด้วย
ธรรมที่ทำให้เป็นพวก มุนีนั้น เมื่อชนทั้งหลายไม่สงบ
ก็เป็นผู้สงบ วางเฉย ไม่ถือมั่น สมณพราหมณ์เหล่าอื่น
ย่อมถือมั่น.

[691] มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ไม่เป็น
ผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความ
ถือมั่น มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย
ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อมไม่ติดอยู่ในโลก.

[692] คำว่า มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำอาสวะใหม่ ความ
ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนอดีต เรียกว่า อาสวะอันมี

ในก่อน กิเลสเหล่าใดพึงเกิดขึ้นเพราะปรารภถึงสังขารส่วนอดีต มุนีละ
สลัด บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสเหล่านั้น เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ละอาสวะอันมีในก่อน. คำว่า ไม่ทำอาสวะใหม่ ความว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ส่วนปัจจุบัน เรียกว่า อาสวะใหม่.
มุนีไม่ทำความพอใจ ไม่ทำความรักใคร่ ไม่ทำความกำหนัด ปรารภถึง
สังขารส่วนปัจจุบัน คือไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้
บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีละอาสวะอันมีในก่อน ไม่ทำ
อาสวะใหม่.
[693] คำว่า ไม่เป็นผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ ในคำว่า ไม่
เป็นผู้ดำเนินไปด้วยความพอใจ
ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น
ความว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ
ไม่ถึงด้วยสามารถราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา
อนุสัย ไม่ดำเนิน ออก เลื่อน เคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็น
พวก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ดำเนินด้วยความพอใจ. คำว่า
ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น ความว่า นรชนเป็นผู้กล่าวด้วยความ
ถือมั่นว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้แหละ
จริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯลฯ (ไม่เป็นผู้
กล่าวด้วยความถือมั่นอย่างนั่น) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เป็นผู้ดำเนิน
ด้วยความพอใจ ทั้งไม่เป็นผู้กล่าวด้วยความถือมั่น.
[694] คำว่า มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิ ความว่า
ทิฏฐิ 62 ประการ อันมุนีนั้นละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร

เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเป็นผู้พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่. คำว่า เป็นธีรชน
คือเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทรงจำ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่อง
ตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นธีรชน พ้นขาดแล้วจากทิฏฐิทั้งหลาย.

ว่าด้วยเหตุที่ติเตียนมี 2 อย่าง


[695] ชื่อว่า ความติด ในคำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ย่อม
ติดในโลก
ได้แก่ความติด 2 อย่าง คือความติดด้วยตัณหา 1 ความติด
ด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติดตัวตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความติด
ด้วยทิฏฐิ มุนีนั้นละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิแล้ว
เพราะละความติดด้วยตัณหา สละคืนความติดด้วยทิฏฐิ จึงเป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่เข้าไปติด ย่อมไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ในอบายโลก
มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก คือเป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่ติด ไม่เปื้อน ไม่เข้าไปติด ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่
เกี่ยวข้องแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากเขตแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ย่อมไม่ติดในโลก. คำว่า ไม่เป็นผู้ติเตียนตน ความว่า บุคคลย่อมติเตียน
ได้ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือเพราะกระทำอย่างหนึ่ง เพราะไม่การทำอย่างหนึ่ง
บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะกระทำและเพราะไม่กระทำอย่างไร บุคคลย่อม
ติเตียนตนได้ว่า เราทำกายทุจริต เราไม่ทำกายสุจริต เราทำวจีทุจริต
เราไม่ทำวจีสุจริต เราทำมโนทุจริต เราไม่ทำมโนสุจริ เราทำปาณาติบาต
ฯลฯ เราทำมิจฉาทิฏฐิ เราไม่ทำสัมมาทิฏฐิ บุคคลย่อมติเตียนตนเพราะ